การสอนเเบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia)
"ศิลปะคือการเรียนรู้ ความคิดและความรู้สึกของเด็กที่สามารถบูรณาการสู่การเรียนรู้อย่างมีความหมายและเป็นเเบบแผน"
ลอริส มาลากุซซี่ (Loris Malaguzzi) เป็นผู้วางรากฐานการสอนเเบบเรกจิโอเอมีเลีย จากการพัฒนาการศึกษาปฐมวัยให้กับโรงเรียนสำหรับเด็กปฐมวัยในเมืองเรกจิโอเอมีเลีย ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี วิธีการเรียนการสอนเเบบเรกจิโอเอมีเลียอยู่บนพื้นฐานว่าสิ่งเเวดล้อมทางการศึกษาคือตัวกระตุ้นให้เด็กอยากเรียนรู้
การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบนี้เน้นการเรียนแบบโครงการเป็นฐาน ประสานกับการแสดงออกทางความคิดและภาษาด้วยงานศิลปะสร้างสรรค์ วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมีเลียได้รับการยอมรับและเผยแพร่ไปสู่ประเทศต่างๆ ตั้งแต่
ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา
แนวคิดพื้นฐาน
นักศึกษาเด็กเสี่ยโอเอมิเลีย
มีความเชื่อว่าเด็กมีความสามารถในการรับรู้ตั้งแต่กำเนิดและเจริญพัฒนาการกิริยาท่าทางและการแสดงออกของเด็กไม่ว่าจะเป็นแววตา
สีหน้าการสื่อสาร
การสัมผัสจับต้องเป็นสิ่งแสดงออกถึงการรับรู้ และความต้องการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับบุคคลแวดล้อมรอบตัว
เด็กเป็นผู้มีความพร้อมและศักยภาพ
ในตอนที่จะเรียนรู้หากสิ่งที่เด็กต้องการเรียนรู้นั้นจูงใจได้รับการยอมรับสนับสนุนจากผู้ใหญ่ซึ่งอาจเป็นทั้งครูและผู้ปกครอง แล้วสามารถถ่ายทอดความคิดความรู้ความเข้าใจด้วยภาษาที่เด็กถนัด เช่น งานศิลปะ เด็กสามารถบอกสิ่งที่เด็กเรียนรู้อธิบายสิ่งที่เข้าใจได้จากงานศิลปะสร้างสรรค์ที่เขาทำ บรรยากาศของการเรียนที่สร้างให้เด็กมีความสุขและคุ้นเคยจะช่วยเสริมการเรียนของเด็ก
สภาพแวดล้อมที่คล้ายคลึงกับสภาพสังคม ที่เด็กอาศัยอยู่จะส่งเสริมเด็กให้เกิดการเรียนรู้
โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีครูเป็นสื่อของการสอนนำพาให้เด็กสามารถสร้างการเรียนรู้ด้วยการ
กระทำ การแสดงออก การจัดสิ่งแวดล้อม และการกระตุ้นที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยการค้นพบด้วยตนเอง
การเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมิเลีย มาจากความต้องการปลูกฝังศิลปะและวัฒนธรรมของอิตาลีโดยให้เด็กได้รับความรัก รู้จักสิ่งที่ดี
มีศิลปะสุนทรีสอดคล้องกับความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล โดยครูและผู้ปกครองต้องอุทิศแรงกาย
และแรงใจเพื่อสนับสนุนเด็กให้เด็กเห็นคุณค่าของศิลปะที่ปรากฏจากการเรียน ซึ่งเด็กปฐมวัยสามารถทำได้
เพราะเด็กมีความสามารถและมีศักยภาพพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจัดสภาพการเรียนการสอนของครูและการสนับสนุนของผู้ใหญ่
องค์ประกอบพื้นฐานในการเรียนการสอนที่สำคัญมี 4 ประการ คือ
1. โครงการที่เด็กต้องการเรียนรู้
1. โครงการที่เด็กต้องการเรียนรู้
2. ศิลปะสร้างสรรค์ที่เด็กใช้ภาษาสื่อการเรียนรู้
3. การจัดสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการเรียนรู้ที่งดงาม
4. การยอมรับอย่างสอดประสานระหว่างเด็กครูและผู้ปกครอง
หลักสูตรตามแนวคิดแบบเรกจิโอเอมิเลียจะไม่มีการกำหนดเนื้อหาที่แน่นอนชัดเจน ครูเพียงแต่วางเป้าหมายการเรียนไว้กว้างๆ เท่านั้น หัวข้อการเรียนของเด็กจะเกิดขึ้นจากเด็กสนใจของเด็ก ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทาง ให้ครูสามารถจัดเตรียมสื่อศิลปะได้เท่านั้น การดำเนินโครงการที่เด็กต้องการเรียนรู้เป็นได้ทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาวอาจเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนขึ้นอยู่กับระยะความสนใจของเด็ก ครูอาจยุติโครงการได้เมื่อสังเกตพบว่าเด็กหมดความสนใจหรือเด็กได้รับคำตอบที่ต้องการแล้ว ระหว่างการดำเนินโครงการเพิ่มการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดผ่านงานศิลปะ เช่น การวาดภาพ การปั้น ครูต้องกระตุ้นให้เด็กสื่อด้วยภาษาศิลปะสร้างสรรค์ตามที่เด็กคิดหรือจินตนาการ ผลงานของเด็กที่ทำในแต่ละช่วงระยะของการเรียน ครูต้องชื่นชม และนำเสนออย่างสวยงาม เช่น นำใบไม้ที่เด็กเก็บมาศึกษานำภาพวาดของเด็กมาประดับชั้นเรียนด้วยศิลปะที่สวยงาม การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมิเลียจะเน้นงานศิลปะ
โรงเรียนที่จัดการสอนแบบนี้จึงต้องมีครูศิลปะประจำและมีห้อง หรือ บริเวณการแสดงงานศิลปะเป็นสำคัญ
ตามแนวคิดของเรกจิโอเอมีเลีย
เด็กต้องใช้ความสามารถและปัญญาของตนเองในการค้นหาคำตอบที่ตนต้องการรู้อีกทั้งยังสามารถสื่อความคิดด้วยภาษาของเด็กที่เป็นงานศิลปะอีกด้วยซึ่งเป็นความถนัดและความสุขของวัยเด็ก แนวทางการสอนเรกจิโอเอมีเลียด้วยการเสริมการสอนแบบโครงการด้วยเชื่อว่า (1) เด็กเรียนรู้ได้ดีจากการค้นปัญหาด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง (2) สื่อศิลปะเป็นรูปแบบโดยธรรมชาติที่ทำให้มีการแสดงออกและการค้นคว้าที่นำไปสู่การเรียนรู้ของเด็กและการเข้าใจโลก
(3) ครูเปรียบเสมือนผู้ร่วมเสริมสร้างให้แก่เด็ก
วิธีการจัดการเรียนการสอน
การเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมิเลียเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสื่อการสอนที่เน้นเด็กเป็นฐาน
โดยเด็กเองเป็น คนคิดหัวข้อโครงการที่ต้องการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนดังนี้
1.การเตรียม
แม้ว่าการเรียน การสอนแบบเรกจิโอเอมิเลียจะเป็นการสอนที่เน้นเด็กเป็นฐาน
เด็กเป็นผู้เลือกเรื่องที่จะเรียนก็ตาม
รายการเตรียมยังเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของครูผู้สอนสิ่งที่ครูผู้สอนเตรียมอาจเป็นดังนี้
1 จัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์สร้างสรรค์สำหรับงานศิลปะของเด็ก
2
จัดเตรียมหัวข้อโครงการที่คาดว่าเด็กจะสนใจทั้งระยะยาวและระยะสั้น สำหรับให้เด็กเลือดในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกหรือไม่มีความคิดเห็นจะเรียนเรื่องอะไร
2.การดำเนินการ
ขั้นนำ
ครูนำประเด็นเพื่อให้เด็กคิดหัวข้อที่สนใจเรียนด้วยการนำเสนอปัญหาให้เด็กคิดแก้ปัญหา
เช่นถ้ามีปัญหาบ้านพัง ช่างไม้จะทำอย่างไร เมื่อถามแล้วให้เด็กคิดหาแนวทางบอกว่าช่างไม้ทำอย่างไรซึ่งอาจมีวิธีการหลากหลายวิธี
จากจุดนี้จะนำไปสู่การกำหนดหัวข้อเรื่องที่จะเรียนการเลือกหัวข้อที่จะเรียนนี้ครูอาจมีวิธีการเลือกต่อไปนี้
1 สังเกตความสนใจของเด็กและนำมาแนะนำหัวข้อให้กับเด็กเมื่อเห็นว่าสำคัญ
2
หัวข้อที่นำมาสอนอาจเป็นความสนใจของครูและความต้องการทางวิชาชีพที่เห็นว่าเด็กต้องเรียน
เช่นเรื่องยาเสพติด
3 ความสนใจร่วมกันระหว่างครูและเด็ก
4 บางหัวข้ออาจนำมาจากความสนใจของผู้ปกครองหรือชุมชน
ขั้นสอน
เมื่อเด็กกำหนดหัวข้อโครงการที่ต้องการเรียนรู้แล้วให้ถูกตั้งคำถามที่จะนำไปสู่การดำเนินขั้นตอนการเรียนรู้ตามลำดับ
ดังนี้
1. วางแผนงาน
1. ครูให้เด็กหาคำตอบที่
1 ว่าเนื้อหาที่อยากรู้มีอะไรบ้าง
2. ครูให้เด็กหาคำตอบที่
2 ว่าจะใช้เครื่องมืออะไรในการสื่อความคิดหรืออธิบาย โดยใช้งานศิลปะอาจจะเป็นการวาดรูปงานศิลปะสร้างสรรค์แล้วแต่ความสนใจ
ของเด็ก
3. ครูให้เด็กหาคำตอบที่
3 ว่าจะดำเนินการอย่างไรให้เด็กคิดว่าจะหาคำตอบของเนื้อหาที่ตนอยากรู้ในคำตอบที่ 1
ว่าจะดำเนินการอย่างไรเป็นรายบุคคลหรือช่วยกันเป็นกลุ่มย่อย
2.ดำเนินการ
เป็นขั้นตอนการปฏิบัติกิจกรรมเด็กจะออกศึกษาค้นคว้าหาความรู้ตามแผนการที่กำหนด
ครูบันทึกความก้าวหน้าของเด็กโดยการจัดสารนิทัศน์จากผลงานของเด็กในการศึกษาแต่ละเรื่องแต่ละประเด็นแล้วนำมาเสนอเป็นงานเชิงศิลปะแสดงที่ป้ายนิทรรศการหรือตกแต่งมุมศิลปะในห้องเรียน
ผลงานที่ครูนำมาจัดแสดงได้แก่
- ภาพถ่ายกิจกรรมหรือเรื่องที่เกี่ยวข้อง
- ภาพวาดของเด็ก
- ภาพตัดปะหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ตกแต่งด้วยเศษผ้าเศษเหล็กเศษวัสดุต่างๆที่เด็กจัดทำ
- สิ่งก่อสร้างของเด็ก
- ภาพปั้นที่เด็กทำจากการศึกษาเรียนรู้
- หรือแม้วัสดุสิ่งของที่เด็กเก็บมาศึกษาครูก็นำมาแสดงให้สวยงามได้เช่นเด็กเก็บใบไม้มาครูนำมาจัดใส่ถุงติดประดับห้องเรียนเป็นต้น
3. ขั้นสรุป
การสรุปประสบการณ์การเรียนรู้ของเด็กเป็นกิจกรรมที่สำคัญเพราะการสะท้อนบ้านเด็กได้เรียนรู้อะไรบ้างหลังจากการทำกิจกรรมการเรียนรู้แล้วเด็กจะต้องจัดระเบียบสิ่งที่ได้เรียนมาแล้วนำเสนอผลสรุปที่เด็กได้รับรู้มา
เมื่อเสร็จสิ้นการเรียนเด็กจะนำผลงานมาแสดงเป็นนิทรรศการหรือติดแสดงไว้ให้ดูจุดประสงค์เพื่อให้เห็นการทำกิจกรรมของเด็กความก้าวหน้าสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้ผู้ปกครองทราบผลงานที่เกิดขึ้นกับเด็ก
4. การประเมินผล
1. การแสดงออกทางความคิดด้วยงานศิลปะของเด็ก
2. ผลการเรียนรู้จากการค้นหาคำตอบของเด็ก
3. ผลงานเด็ก
สภาพแวดล้อมในโรงเรียนแนวเรกจิโอ
เอมิเลีย
เนื่องจากการเรียนการสอนแนวเรกจิโอ
เอมิเลีย ที่จะเน้นให้เด็กได้แสดงความคิด ได้ลงมือทำโครงการ
งานศิลปะ การเรียนรู้จากสิ่งรอบตัว
ดังนั้นสภาพแวดล้อมในโรงเรียนต้องเอื้ออำนวยต่อความคิดสร้างสรรค์และการเรียนรู้ค่อยข้างมาก
รวมถึงอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ต้องพร้อม เพื่อให้เด็กได้นำมาใช้ได้อย่างเต็มที่
เช่น อุปกรณ์สำหรับงานศิลปะ สีประเภทต่างๆ เครื่องมือตัดเย็บ เทปกาว กระดาษต่างๆ
กระดาษสี เป็นต้น รวมถึงต้องมีพื้นที่สำหรับให้เด็กได้สร้างผลงานได้แบบไม่จำกัด
เช่น โต๊ะขนาดใหญ่ ห้องทดลอง สนามหญ้า เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีที่สำหรับแสดงผลงานของเด็กได้อย่างหลากหลายมุม
เช่น มุมศิลปะ มุมงานประดิษฐ์ มุมแผนผัง มุมโมเดลโครงการเป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องเป็นหน้าที่ของครู
และผู้ปกครองที่จะต้องช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมดังกล่าว
รวมถึงชุมชนภายนอกด้วยที่จะต้องพร้อมเป็นแหล่งเรียนรู้ ปลอดภัยให้กับเด็กๆ
การนำไปใช้
การจัดการเรียนการสอนแบบเรกจิโอเอมีเลียได้รับความสนใจและมีการทำไปใช้อย่างแพร่หลาย
ข้อจำกัดที่เป็นข้อสังเกตของการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย คือ ใช้เวลาในการเรียนแต่ละเรื่องนาน ทำให้มีโอกาสเรียนได้น้อยเรื่อง ขอบเขตของการเรียนรู้แคบ สาระการเรียนรู้ได้มีเฉพาะเรื่องที่เรียนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กพัฒนาครอบคลุมทุกด้านครูควรบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ การเขียน อ่าน ในระหว่างการจัดกิจกรรมในโครงการด้วย
ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ เรกจิโอ เอมิเลีย คือ การจัดกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเล็ก จะช่วยเด็กในการเรียนรู้สังคมเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน เกิดการยอมรับ สร้างความอดทน ทำให้เกิดพัฒนาการด้านสังคม นอกจากนี้การใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของเด็ก เด็กรู้สักการสังเกตสิ่งต่างๆ ฝึกสายตา การมอง การใช้กล้ามเนื้อ สร้างความรักความชอบในงานศิลปะให้กับเด็ก
ครูจะต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาเพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายให้กับเด็ก เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีการสร้างสถานการณ์ หรือการจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ชวนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย แล้วเชื่อมโยงสู่การจัดประสบการณ์โดยนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมโยงเข้าสู่การจัดสถานการณ์ หรือกิจกรรมที่นำเด็กไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดเวลา และมีการเตรียมคำถามที่กระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้เด็กได้คิดและสื่อออก โดยครูต้องมีการนำเสนอทางเลือกที่หลากหลาย คอยสนับสนุน ต่อจากนั้นครูปล่อยให้เด็กได้คิด และสังเกตเด็กเป็นรายบุคคล ให้เวลาเด็กได้คิด แก้ปัญหา และค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยที่ไม่เร่งเด็ก ครูต้องจดบันทึก และเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากการสังเกต แล้วส่งเสริมให้เด็กได้ดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับวัย
ข้อจำกัดที่เป็นข้อสังเกตของการสอนแบบ เรกจิโอ เอมีเลีย คือ ใช้เวลาในการเรียนแต่ละเรื่องนาน ทำให้มีโอกาสเรียนได้น้อยเรื่อง ขอบเขตของการเรียนรู้แคบ สาระการเรียนรู้ได้มีเฉพาะเรื่องที่เรียนเท่านั้น ดังนั้นเพื่อให้เด็กพัฒนาครอบคลุมทุกด้านครูควรบูรณาการความรู้ทางคณิตศาสตร์ การเขียน อ่าน ในระหว่างการจัดกิจกรรมในโครงการด้วย
ข้อดีของการเรียนการสอนแบบ เรกจิโอ เอมิเลีย คือ การจัดกลุ่มเด็กเป็นกลุ่มเล็ก จะช่วยเด็กในการเรียนรู้สังคมเพิ่มขึ้น มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สังเกตการณ์ทำงานร่วมกัน เกิดการยอมรับ สร้างความอดทน ทำให้เกิดพัฒนาการด้านสังคม นอกจากนี้การใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของเด็ก เด็กรู้สักการสังเกตสิ่งต่างๆ ฝึกสายตา การมอง การใช้กล้ามเนื้อ สร้างความรักความชอบในงานศิลปะให้กับเด็ก
ครูจะต้องศึกษาหาความรู้ตลอดเวลาเพื่อจะได้นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายให้กับเด็ก เพราะเด็กจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อมีการสร้างสถานการณ์ หรือการจัดสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ชวนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย แล้วเชื่อมโยงสู่การจัดประสบการณ์โดยนำข้อมูลที่ได้มาเชื่อมโยงเข้าสู่การจัดสถานการณ์ หรือกิจกรรมที่นำเด็กไปสู่ประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดเวลา และมีการเตรียมคำถามที่กระตุ้นหรือเร้าความสนใจให้เด็กได้คิดและสื่อออก โดยครูต้องมีการนำเสนอทางเลือกที่หลากหลาย คอยสนับสนุน ต่อจากนั้นครูปล่อยให้เด็กได้คิด และสังเกตเด็กเป็นรายบุคคล ให้เวลาเด็กได้คิด แก้ปัญหา และค้นหาคำตอบด้วยตนเองโดยที่ไม่เร่งเด็ก ครูต้องจดบันทึก และเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากการสังเกต แล้วส่งเสริมให้เด็กได้ดึงศักยภาพของตนเองออกมาอย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับวัย
ตัวอย่างการสอนเเบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia)
อ้างอิง
กุลยา ตันติผลาชีวะ.(2551). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เบรน-เบสบุ๊ค จำกัด
กนกวรรณ ถาวรสุข. เรกจิโอ เอมิเลีย หรือ เรจโจ้ เอมิลิญ่า (Reggio Emilia).ที่มาของ เว็บไซต์ : http://taamkru.com/th
โรงเรียนแนวการสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia).ที่มาของเว็บไซต์
: http://www.rakluke.com/school-zone